พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
พระกริ่งหลวงพ่อ...
พระกริ่งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นแรก พิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์
พระกริ่งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นแรก พิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์


เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดย อาจารย์กิจจา วาจาสัตย์ ท่านได้ขออนุญาตหลวงพ่ออุตตมะจัดสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

จำนวนการสร้าง พระกริ่ง 1,600 องค์ พร้อมสร้างพิเศษต่างหากอีกเป็นพิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์เป็นเนื้อนวะ

แต่งกริ่งโดย อาจารย์ นิรันดร์ แดงวิจิตร(หนู)ซึ่งเป็นอดีตพระฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เจาะฐานพร้อมบรรจุมวลสารอันวิเศษและเกศาของสมเด็จพระสังฆราช แพ และมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว เป็นต้น….

สำหรับพระะชัยวัฒน์ สร้าง จำนวน 2,000 องค์ เททองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2520 ณ วัดสุทัศน์ฯ ทั้งนี้ได้มอบถวายให้วัดแก้วเจริญ 1,000 ชุด

มวลสารโลหะที่นำมาสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ชุดนี้
1.ชนวนรวมพิธีต่างๆ ของวัดสุทัศน์ฯ น้ำหนักรวม 40๐ กก. อาจารย์นิรันด์ แดงวิจิตร เมตตามอบให้,
ทองชนวนวัดเสวตฉัตร รุ่นแรก, ทองชนวนหล่อพระชัยวัฒน์ วัดหนัง

2.แผ่นทองแดงลงอักขระเลขยันต์ของเก่า หลวงพ่อพระญาณโพธิ(เข็ม) เมตตามอบให้ รวม 23 แผ่น และที่มีหลักฐาน 13 แผ่น เป็นของพระสุเมธีวรคุณ(เปี่ยม) วัดเกาะหลัก, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, พระมงคลราชมุนี(สนธิ์) วัดสุทัศน์, หลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อดี วัดเหนือ, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดง ฯลฯ

3.ตะกรุดลูกอมหลวงพ่อวิสุทธิรังสี(เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้), พระโสภณสมาจารย์(เหรียญ) วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี เทวสังฆาราม(วัดเหนือ), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ รวม 27 ดอก

4.ตะกรุดที่ชื่อ”วานรสะกดทัพ” หลวงพ่อพระพุทธวิหารโสภณ(อ่ำ) วัดวงษ์ฆ้อง อยุธยา, ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, ตะกรุดมหาคงคา โลหะเงิน หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี, ตะกรุดเมตตา ทองคำหนัก ๒ สลึง หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี, ตะกรุดโทน หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี

5.เงินพดด้วงตรายันต์ ตราราชวัตร์ และอื่นๆรวม 25 บาท

6.โลหะเงินบริสุทธิ์ 10.50 กก.

7.ทองคำ นน.รวมประมาณ 15 บาท

8.ทองแดงบริสุทธิ์ นน.รวม 40 กก.

9.ทองลงหิน นน.รวม 15 กก.

มวลสารโลหะเหล่านี้โดยเฉพาะ เงินและทองคำ บางส่วนได้นำเข้าพิธีอาจารย์ 108 รูป ของวัดถาวรวราราม(วัดญวณ) กาญจนบุรี ตามคำสั่งของหลวงพ่ออุตตมะ เมื่อเสร็จแล้วนำมาหล่อหลอมรีดเป็นแผ่น นำไปให้หลวงพ่ออุตตมะ ลงเลขยันต์ส่วนหนึ่ง นอกนั้นนำไปลงยันต์ 108 และนะ 14 นะ ตามตำหรับของวัดสุทัศน์ฯ โดยท่านพระครูใบฎีกาถนอม คณะ 2 เมตตาลงให้, แผ่นยันต์จักพัตราธิราช 108 แผ่น อาจารย์วุฒิ เมตตาลงให้ ส่วนที่เหลือให้พระคณาจารย์ทุกรูปที่มาในงานพิธี รวม 16 รูปเมตตาลงให้ นอกนั้น นำมาลงพระคาถามงคลสูตรที่สำคัญ เช่น ชินะปัญชรคาถา ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และ มนต์ที่สำคัญๆ ในเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน โดยทำพิธีเททองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2521 ณ วัดสุทัศน์ฯ
และหลังจากนั้นได้จัดพิธีพุทธาภิเษกและสวดทิพย์มนต์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2521 โดยนิมนต์พระเกจิเจ้าที่มีสมาธิจิตพิเศษในด้านต่างๆจำนวน 8 รูป นั่งปรกเป็นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง อาทิเช่น พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น พร้อมทั้งนำวัตถุมงคลที่สร้างทั้งหมดออกมาตั้งกลางมณฑลพิธีภายในราชวัตร ฉัตร ธง โดยมิได้มีสิ่งใดกีดขวางเลย ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์ทุกท่านได้เห็นรูปลักษณ์ขององค์พระและสัมผัสโดยทั่วกัน เพื่อความขลังและศักดิ์สิทธิ์
หลังจากเสร็จพิธีกรรมแล้วได้นำพระทั้งหมดให้หลวงพ่ออุตตมะนำไปปลุกเสกต่างหากเพิ่มอีกหนึ่งคืน ….หลวงพ่อท่านได้กล่าวว่า พระชุดนี้สมบูรณ์ทั้งพิธีกรรมตามตำหรับของวัดสุทัศน์ฯและความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระอาจารย์ที่เปี่ยมล้นด้วยสมาธิจิต จึงเรียกว่าพุทธคุณนั้น ”ดีทั้งนอกและใน”ทุกประการ

องค์นี้สภาพสวยสมบูรณ์มาก ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับที่ฐานด้านหลังและใต้ฐานองค์พระ องค์นี้หมายเลข ๓๓ มีรอยจารใต้ฐาน สภาพสวยสมบูรณ์มาก

สำหรับประวัติของหลวงพ่ออุตตมะนั้น หลวงพ่อเกิดเมื่อที่เมืองมุกกะเหนี่ยง ในสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาทางพุทธศาสนาที่วัดมุกกะเหนียงจนจบหลักสูตร และได้เดินทางไปศึกษาต่อยังเมืองร่างกุ้ง สอบได้เปรียญธรรมชั้นเอก (ป.ธ.7) และเป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวกการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ส่วนประวัติโดยย่อนั้น เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่ออุตตมะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุศึกษาในสำนักศาสนศึกษาในเมืองย่างกุ้ง สอบได้ชั้นสูงสุดซึ่งเรียกว่าชั้น “ปาร์คู” แต่ยังไม่ทันประกาศผลก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีสงคราม ในระหว่างสงคราม พระอาจารย์จันทิมาซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฤตยาคมเป็นที่เลื่องลือได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ท่านจนจบสิ้น เมื่อสงครามโลกยุติ ท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปมาระหว่างประเทศไทยกับเมืองเย ผ่านเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งแสนจะทุรกันดาร จนถูกกองโจรขบวนการกู้ชาติจับ แต่ท่านก็สามารถใช้วิชาความรู้รอดชีวิตมาได้

หลวงพ่ออุตตมะคุ้นเคยกับภูมิประเทศไทยเพราะเคยจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆ ในท้องที่อำเภอ โพธาราม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และสมุทรปราการ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2500 ท่านได้ลงมือสร้างวัดขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำแควน้อย ชื่อวัด “วังก์วิเวการาม” เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของชาวไทยและชาวมอญในถิ่นทุรกันดาร จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป โดยมีประชาชนทั้งชาวไทยชาวมอญในประเทศและจากนอกประเทศ เข้ามาร่วมทำบุญมีงานรื่นเริงเป็นประจำทุกปี

ต่อมามีการสร้างเขื่อนเขาแหลมบริเวณวัดน้ำจะท่วมทั้งหมด จึงได้ย้ายวัดขึ้นไปอยู่บนเขาโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นผู้จัดสร้าง ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างเกือบจะเสร็จสิ้นแล้วเหลืออยู่แต่เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาที่บริเณวัดที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่สวยงามงดงามแห่งหนึ่ง ปัจจุบันนี้ท่านหลวงพ่อได้รับนิมนต์จากประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพื่อไปประกอบพิธีพุทธาภิเษกทั้งในงานวัดและงานมงคลต่างๆ อยู่เสมอ มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากทั้งชาวไทย และชาวมอญรวมทั้งพม่า

หลวงพ่ออุตตมะ เป็นชื่อหรือฉายาในพระบวรพระพุทธศาสนาของท่าน คือ อุตตมะ หรืออุตตโม เราทั้งหลายจึงมักนิยมเรียกนามท่านตามฉายาสงฆ์ดังที่กล่าวมานี้

หลวงพ่ออุตตมะ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ชอบเดินธุดงค์อยู่ป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาวาส ท่านถือแนวทางการประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยได้กระทำมาแล้ว พร้อมกับเป็นขวัญใจของชาวไทย และชาวรามัญองค์หนึ่งในยุคนี้

“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”

พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

. https://ponsrithong.com/

web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
ผู้เข้าชม
1187 ครั้ง
ราคา
15500
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
พลศรีทองพระเครื่อง( บู เชียงราย )
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
busoftware52
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
282-2-248xx-x

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
น้ำตาลแดงPumneeNithiporntermboonมัญจาคีรี udtintin
พีช อัครกรัญระยองเปียโนbank...900eknarinchaithawat
jochoponsrithong2PolkisanaทองธนบุรีBungพล ปากน้ำ
สมเกียรติ23chathanumaanBAINGERNจ่าดี พระกรุSpidermanfrank_tum
AmuletManแมวดำ99บี บุรีรัมย์อมรทรัพย์พระเครื่องเจริญสุขsakunchart

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1207 คน

เพิ่มข้อมูล

พระกริ่งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นแรก พิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
พระกริ่งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นแรก พิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์
รายละเอียด
พระกริ่งหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม จ.กาญจนบุรี รุ่นแรก พิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์


เป็นพระกริ่งที่สร้างร่วมกันระหว่างหลวงพ่อหยอด วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม และหลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี โดย อาจารย์กิจจา วาจาสัตย์ ท่านได้ขออนุญาตหลวงพ่ออุตตมะจัดสร้างขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ สมทบทุนสร้างพระอุโบสถ วัดแก้วเจริญ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม

จำนวนการสร้าง พระกริ่ง 1,600 องค์ พร้อมสร้างพิเศษต่างหากอีกเป็นพิมพ์กรรมการ จำนวน 108 องค์เป็นเนื้อนวะ

แต่งกริ่งโดย อาจารย์ นิรันดร์ แดงวิจิตร(หนู)ซึ่งเป็นอดีตพระฐานานุกรมในสมเด็จพระสังฆราชแพ วัดสุทัศน์ เจาะฐานพร้อมบรรจุมวลสารอันวิเศษและเกศาของสมเด็จพระสังฆราช แพ และมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว เป็นต้น….

สำหรับพระะชัยวัฒน์ สร้าง จำนวน 2,000 องค์ เททองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2520 ณ วัดสุทัศน์ฯ ทั้งนี้ได้มอบถวายให้วัดแก้วเจริญ 1,000 ชุด

มวลสารโลหะที่นำมาสร้างพระกริ่งและพระชัยวัฒน์ชุดนี้
1.ชนวนรวมพิธีต่างๆ ของวัดสุทัศน์ฯ น้ำหนักรวม 40๐ กก. อาจารย์นิรันด์ แดงวิจิตร เมตตามอบให้,
ทองชนวนวัดเสวตฉัตร รุ่นแรก, ทองชนวนหล่อพระชัยวัฒน์ วัดหนัง

2.แผ่นทองแดงลงอักขระเลขยันต์ของเก่า หลวงพ่อพระญาณโพธิ(เข็ม) เมตตามอบให้ รวม 23 แผ่น และที่มีหลักฐาน 13 แผ่น เป็นของพระสุเมธีวรคุณ(เปี่ยม) วัดเกาะหลัก, หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ, หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา, พระมงคลราชมุนี(สนธิ์) วัดสุทัศน์, หลวงพ่อศุข วัดโตนดหลวง, หลวงพ่อดี วัดเหนือ, หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดง ฯลฯ

3.ตะกรุดลูกอมหลวงพ่อวิสุทธิรังสี(เปลี่ยน) วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(วัดใต้), พระโสภณสมาจารย์(เหรียญ) วัดหนองบัว, หลวงปู่ดี เทวสังฆาราม(วัดเหนือ), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ รวม 27 ดอก

4.ตะกรุดที่ชื่อ”วานรสะกดทัพ” หลวงพ่อพระพุทธวิหารโสภณ(อ่ำ) วัดวงษ์ฆ้อง อยุธยา, ตะกรุดมหาปราบ หลวงพ่อคง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, ตะกรุดมหาคงคา โลหะเงิน หลวงพ่อเฒ่ายิ้ม วัดหนองบัว กาญจนบุรี, ตะกรุดเมตตา ทองคำหนัก ๒ สลึง หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง นนทบุรี, ตะกรุดโทน หลวงพ่อกล้าย วัดหงส์รัตนาราม ธนบุรี

5.เงินพดด้วงตรายันต์ ตราราชวัตร์ และอื่นๆรวม 25 บาท

6.โลหะเงินบริสุทธิ์ 10.50 กก.

7.ทองคำ นน.รวมประมาณ 15 บาท

8.ทองแดงบริสุทธิ์ นน.รวม 40 กก.

9.ทองลงหิน นน.รวม 15 กก.

มวลสารโลหะเหล่านี้โดยเฉพาะ เงินและทองคำ บางส่วนได้นำเข้าพิธีอาจารย์ 108 รูป ของวัดถาวรวราราม(วัดญวณ) กาญจนบุรี ตามคำสั่งของหลวงพ่ออุตตมะ เมื่อเสร็จแล้วนำมาหล่อหลอมรีดเป็นแผ่น นำไปให้หลวงพ่ออุตตมะ ลงเลขยันต์ส่วนหนึ่ง นอกนั้นนำไปลงยันต์ 108 และนะ 14 นะ ตามตำหรับของวัดสุทัศน์ฯ โดยท่านพระครูใบฎีกาถนอม คณะ 2 เมตตาลงให้, แผ่นยันต์จักพัตราธิราช 108 แผ่น อาจารย์วุฒิ เมตตาลงให้ ส่วนที่เหลือให้พระคณาจารย์ทุกรูปที่มาในงานพิธี รวม 16 รูปเมตตาลงให้ นอกนั้น นำมาลงพระคาถามงคลสูตรที่สำคัญ เช่น ชินะปัญชรคาถา ธรรมจักรกัปปวัตนสูตร และ มนต์ที่สำคัญๆ ในเจ็ดตำนานและสิบสองตำนาน โดยทำพิธีเททองเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2521 ณ วัดสุทัศน์ฯ
และหลังจากนั้นได้จัดพิธีพุทธาภิเษกและสวดทิพย์มนต์ ขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ในวันเสาร์ที่ 10 มิถุนายน 2521 โดยนิมนต์พระเกจิเจ้าที่มีสมาธิจิตพิเศษในด้านต่างๆจำนวน 8 รูป นั่งปรกเป็นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง อาทิเช่น พระสังวรวิมลเถระ (หลวงปู่โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี เป็นต้น พร้อมทั้งนำวัตถุมงคลที่สร้างทั้งหมดออกมาตั้งกลางมณฑลพิธีภายในราชวัตร ฉัตร ธง โดยมิได้มีสิ่งใดกีดขวางเลย ทั้งนี้เพื่อให้อาจารย์ทุกท่านได้เห็นรูปลักษณ์ขององค์พระและสัมผัสโดยทั่วกัน เพื่อความขลังและศักดิ์สิทธิ์
หลังจากเสร็จพิธีกรรมแล้วได้นำพระทั้งหมดให้หลวงพ่ออุตตมะนำไปปลุกเสกต่างหากเพิ่มอีกหนึ่งคืน ….หลวงพ่อท่านได้กล่าวว่า พระชุดนี้สมบูรณ์ทั้งพิธีกรรมตามตำหรับของวัดสุทัศน์ฯและความขลังความศักดิ์สิทธิ์ของพระอาจารย์ที่เปี่ยมล้นด้วยสมาธิจิต จึงเรียกว่าพุทธคุณนั้น ”ดีทั้งนอกและใน”ทุกประการ

องค์นี้สภาพสวยสมบูรณ์มาก ตอกโค้ดและหมายเลขกำกับที่ฐานด้านหลังและใต้ฐานองค์พระ องค์นี้หมายเลข ๓๓ มีรอยจารใต้ฐาน สภาพสวยสมบูรณ์มาก

สำหรับประวัติของหลวงพ่ออุตตมะนั้น หลวงพ่อเกิดเมื่อที่เมืองมุกกะเหนี่ยง ในสาธารณรัฐสังคมนิยมแห่งสหภาพพม่า ได้บรรพชาเป็นสามเณรและศึกษาทางพุทธศาสนาที่วัดมุกกะเหนียงจนจบหลักสูตร และได้เดินทางไปศึกษาต่อยังเมืองร่างกุ้ง สอบได้เปรียญธรรมชั้นเอก (ป.ธ.7) และเป็นเจ้าอาวาสวัดวังก์วิเวกการาม อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี

ส่วนประวัติโดยย่อนั้น เมื่ออายุได้ 20 ปีบริบูรณ์ หลวงพ่ออุตตมะได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุศึกษาในสำนักศาสนศึกษาในเมืองย่างกุ้ง สอบได้ชั้นสูงสุดซึ่งเรียกว่าชั้น “ปาร์คู” แต่ยังไม่ทันประกาศผลก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ต้องอพยพหนีสงคราม ในระหว่างสงคราม พระอาจารย์จันทิมาซึ่งเป็นอุปัชฌาย์ของท่าน และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในทางกฤตยาคมเป็นที่เลื่องลือได้ถ่ายทอดวิชาความรู้ให้ท่านจนจบสิ้น เมื่อสงครามโลกยุติ ท่านก็ได้เดินธุดงค์ไปมาระหว่างประเทศไทยกับเมืองเย ผ่านเทือกเขาตะนาวศรี ซึ่งแสนจะทุรกันดาร จนถูกกองโจรขบวนการกู้ชาติจับ แต่ท่านก็สามารถใช้วิชาความรู้รอดชีวิตมาได้

หลวงพ่ออุตตมะคุ้นเคยกับภูมิประเทศไทยเพราะเคยจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆ ในท้องที่อำเภอ โพธาราม อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี และสมุทรปราการ ครั้นเมื่อ พ.ศ. 2500 ท่านได้ลงมือสร้างวัดขึ้นที่ฝั่งตะวันตกของลำน้ำแควน้อย ชื่อวัด “วังก์วิเวการาม” เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งของชาวไทยและชาวมอญในถิ่นทุรกันดาร จนเป็นที่รู้จักกันดีทั่วไป โดยมีประชาชนทั้งชาวไทยชาวมอญในประเทศและจากนอกประเทศ เข้ามาร่วมทำบุญมีงานรื่นเริงเป็นประจำทุกปี

ต่อมามีการสร้างเขื่อนเขาแหลมบริเวณวัดน้ำจะท่วมทั้งหมด จึงได้ย้ายวัดขึ้นไปอยู่บนเขาโดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตเป็นผู้จัดสร้าง ขณะนี้ดำเนินการก่อสร้างเกือบจะเสร็จสิ้นแล้วเหลืออยู่แต่เจดีย์ทรงสี่เหลี่ยมแบบพุทธคยาที่บริเณวัดที่เป็นสิ่งก่อสร้างที่สวยงามงดงามแห่งหนึ่ง ปัจจุบันนี้ท่านหลวงพ่อได้รับนิมนต์จากประชาชนทั่วทั้งประเทศ เพื่อไปประกอบพิธีพุทธาภิเษกทั้งในงานวัดและงานมงคลต่างๆ อยู่เสมอ มีประชาชนเลื่อมใสศรัทธามากทั้งชาวไทย และชาวมอญรวมทั้งพม่า

หลวงพ่ออุตตมะ เป็นชื่อหรือฉายาในพระบวรพระพุทธศาสนาของท่าน คือ อุตตมะ หรืออุตตโม เราทั้งหลายจึงมักนิยมเรียกนามท่านตามฉายาสงฆ์ดังที่กล่าวมานี้

หลวงพ่ออุตตมะ เป็นพระภิกษุสงฆ์ที่ชอบเดินธุดงค์อยู่ป่าดงมากกว่าอยู่วัดวาอาวาส ท่านถือแนวทางการประพฤติปฏิบัติพระกรรมฐานเยี่ยงพระอริยเจ้าทั้งหลายที่เคยได้กระทำมาแล้ว พร้อมกับเป็นขวัญใจของชาวไทย และชาวรามัญองค์หนึ่งในยุคนี้

“เมื่อเราคิดถึงท่าน ท่านก็จะมาอยู่ในใจเรา เมื่อใดที่เรามีทุกข์ร้อนใจ เพียงระลึกถึงคำสอนของท่าน ท่านก็จะมาอยู่ข้างเรา…..”

พลศรีทอง พระเครื่อง โดย บู เชียงราย

. https://ponsrithong.com/

web (main) พระเครื่อง : บู เชียงราย ร้านพลศรีทอง พระเครื่อง

Web ( มุมพระ) : มุมพระ
https://www.mumpra.com/shop.php?shopid=507
web (99wat) : 99วัด
http://www.ponsrithong.99wat.com/
Facebook เพจพลศรีทอง พระเครื่อง บู เชียงราย
: https://www.facebook.com/ponsrithong/
IG :https://www.instagram.com/bu_chiangrai.amulet/
ราคาปัจจุบัน
15500
จำนวนผู้เข้าชม
1188 ครั้ง
สถานะ
มาใหม่
โดย
ชื่อร้าน
พลศรีทองพระเครื่อง( บู เชียงราย )
URL
เบอร์โทรศัพท์
0877124640
ID LINE
busoftware52
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารไทยพาณิชย์ / 282-2-248xx-x




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี